โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 95 – อาการไม่พึงประสงค์ (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 4 ธันวาคม 2567
- Tweet
อาการแพ้รุนแรง (Allergic reaction) ต่อส่วนประกอบในวัคซีน เช่น ยางสีขาว (Latex), ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics), วุ้น (Gelatin), หรือส่วนผสมจากไข่ (Egg substrate) เกิดขึ้นในประมาณ 1 ใน 1 ล้านขนาดปริมาณ (Dose)
หากผู้ป่วยมีประวัติแพ้รุนแรง (หรือสงสัย [Suspect] ว่ามีอาการแพ้) ควรปรึกษา (Consult) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ (Allergist) เพื่อทำการ (Undergo) ทดสอบทางผิวหนัง แล้วหาสาเหตุ (Determine) ว่าแพ้ส่วนประกอบ (Component) ใด และใช้ข้อมูลนี้ในการปรับ (Guide) การฉีดวัคซีนในอนาคตด้วยส่วนประกอบที่แตกต่างกัน (Different)
สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการแพ้ อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse reaction) ที่พบได้บ่อยจากวัคซีน คืออาการปวด (Pain), บวม (Swelling), แดงบริเวณที่ฉีด (Injection site), มีไข้ (Fever), หงุดหงิด (Irritability), ง่วงนอน (Drowsiness), และผื่น (Rash) อาการเหล่านี้จะหายไปเองและไม่ถือว่าเป็นผลข้างเคียง (Side effect) ที่ร้ายแรง (Serious)
ส่วนอาการที่รุนแรงกว่านั้นได้แก่ การอักเสบของสมองและไขสันหลังเฉียบพลัน (Acute disseminated encephalomyelitis: ADEM), สมองอักเสบ (Encephalitis), กลุ่มอาการอักเสบเฉียบพลันที่ปลายประสาท (Guillain-Barre syndrome: GBS), และความผิดปรกติของการแข็งตัวของเลือด (Idiopathic thrombocytopenic purpura: ITP) มาดูแต่ละอาการกัน
ADEM เกิดขึ้นจากการสูญเสียฉนวน (Insulation) ประสาท โรคนี้รักษาด้วย Steroid อย่างเข้มข้น (Aggressively) เพราะอาจเป็นอันตรายได้ (Dangerous) สาเหตุส่วนมากไม่ทราบ (Unknown) แน่ชัด แต่อาจเกิดจาก (Trigger) การติดเชื้อ (เช่น ไข้หวัดธรรมดา) หรือจากการฉีดวัคซีน
ระหว่างปี ค.ศ. 2005 ถึง ค.ศ. 2012 มีรายงานผู้ป่วย ADEM หลังฉีดวัคซีน 236 ราย โดย 90 ราย อาจ (Probably) เกิดจากวัคซีน สำหรับช่วงปี ค.ศ. 2006 ถึง ค.ศ. 2016 มีการแจกจ่าย (Distribute) วัคซีน 3.1 พันล้าน (Billion) Doseในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเท่ากับ (Equate) 310 ล้านโดสต่อปี
ดังนั้นจะพบผู้ป่วย ADEM 1 รายต่อทุกๆ การฉีดวัคซีน 23.8 ล้านโดส ในขณะที่โรคหัด (Measles) มีอัตราการเกิด ADEM 1 รายต่อทุก 1,000 ราย อีสุกอีใส (Chickenpox) 1 รายต่อทุก 10,000 ราย และหัดเยอรมัน (Rubella) 1 รายต่อทุก 2,000 ราย นอกจากนี้ เมื่อนักวิจัยศึกษาผู้ป่วยกับกลุ่มควบคุม (Control) พบว่าไม่มีความเชื่อมโยง (Association) ระหว่างการฉีดวัคซีนกับความเสี่ยง (Risk) ที่เพิ่มขึ้นของ ADEM
ส่วนสมองอักเสบ เป็นการอักเสบของสมองที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ (Infection), ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันอัตโนมัติ (Autoimmune reaction), และ (ในกรณีที่พบได้น้อยมาก) หลังฉีดวัคซีน ระหว่างปี ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 2010 มีรายงานผู้ป่วยสมองอักเสบหลังฉีดวัคซีน 1,396 รายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเท่ากับ 1 รายต่อการฉีดวัคซีน 4.4 ล้านโดส ในการเปรียบเทียบ (Comparison) มีอัตราการเกิดสมองอักเสบ 1 รายต่อทุก 5,500 รายของอีสุกอีใส
แหล่งข้อมูล –